วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หยี่ยวกิ้งก่าสีดำ Black Baza 

เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza), ชื่อวิทยาศาสตร์ Aviceda leuphotes) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดเล็กพบได้ตามป่าในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นนกอพยพ ซึ่ง ประชากรในประเทศอินเดียจะอพยพหนีหนาวไปตอนใต้ของประเทศและประเทศศรีลังกา เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ Black Baza มีขาและเท้าสั้น แต่มีกรงเล็บที่แข็งแรงมาก  หน้าอกมีแถบกว้างสีขาวและมีแถบสีดำพาดเป็นแนวขวาง นกชนิดนี้สามารถพบได้เป็นกลุ่มเล็กๆในป่าทึบ พวกมันชอบเกาะอยู่ตามกิ่งบนยอดต้นไม้
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ Black Baza ในตอนแรกว่ากันว่านกชนิดนี้แยกออกมาจาก พันธุ์พอนด์ดิชอรี่ (Pondicherry) ในชื่อ ฟาลโก้ ลิวโฟท์ (Falco leuphotes) จากนั้นก็มีข้อโต้แย้งอ้างอิงสภาพภูมิศาสตร์ว่าเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ มีความเกี่ยวข้องกับ วูฟาย (wolfei) ซึ่งแยกออกมาจาก พันธุ์เสฉวน (Sichuan) และอาจนับว่าเป็นหนึ่งในชนิดย่อยของสายพันธุ์นี้ แต่ถึงอย่างไรก็ดีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่มาของเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุป 
•A. l. syama (ฮอดจ์สัน ปี1837) จากประเทศเนปาล ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ถึง ภาคใต้ของจีน และอยู่ใน แทบอินโดจีน และ คาบสมุทรมลายู ในฤดูหนาว
•A. l. leuphotes (ดูมองต์ ปี1820) คือพันธุ์ที่อ้างว่าผสมขึ้นในตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ จึงยังเป็นที่สงสัยอย่างมาก ต่อมามีการอ้างว่าเป็นกาผสมแทบประเทศพม่าและประเทศไทย แต่ในกรณีนี้ทำให้ชนิดนี้ไม่ต่างจากชนิดแรกที่กล่าวมาข้างต้นแต่อย่างใด 
•A. l. andamanica (อับดุลอาลี และ กรับป์ ปี1970) เป็นชนิดที่มีเฉพาะบนเกาะในอันดามันเท่านั้น ซึ้งมีตัวด้านล่างเป็นสีขาว และไม่มีแทบบนอกเลย
 

เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดเล็ก ที่มีสีสันที่เห็นได้ชัดเจน มีขนาดตั้งแต่ 30 ถึง 35 เซนติเมตร มีความยาวเมื่อกางปีกอยู่ที่ 66 ถึง 80 เซนติเมตร และหนัก 168 ถึง 224 กรัม ลวดลายบนอกของเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) เป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดจึงจำแนกชนิดได้ง่าย ตัวผู้มีไหล่สีขาวและมีลายสีขาว ส่วนตัวเมียมีไหล่และอกสีขาว แต่แถบข้างไม่มีแถบขาวเหมือนเพศผู้
เมื่อบินเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) จะดูคล้ายกา และมักจะพบเห็นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ขณะอพยพ ในตอนหยุดพักระหว่างอพยพมันจะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่  
อาหารหลักของ เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) คือแมลงชนิดต่างๆ  มันจะจับแมลงที่เกาะอยู่ตามใบไม้ และมีคนพบเห็นมันจับนกเด้าลมจากการบินโฉบเข้าไปในฝูงนกเด้าลม ในบางครั้งเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) ก็เข้าไปอยู่ปะปนอยู่ในฝูงนกฃนิดอื่นๆ หลายชนิด  มันยังสามารถกินผลไม้จากต้นปาล์มได้อีกด้วย  เสียงเรียกของเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำคือ ‘ชู - วีป’ คล้ายกับ นกขี้เถ้าใหญ่  
เหมือนสัตว์ที่อยูในสกุลเอวิชีด้า (genus Aviceda ) เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำมีฟันเจาะสองซีกที่ปลายปาก มีข้อถกเถียงกันว่านกชนิดนี้มีกลิ่นตัวคล้ายแมลง
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza)  กระจายตัวอยู่ในเอเชียตะวันออก และเอเชียใต้บางส่วน พวกมันเป็นนกอพยพในแถบนี้ คุณมีโอกาสพบเห็นเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) เป็นจำนวนมากได้ที่จังหวัดชุมพร ประเทศไทย ในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี เพราะเป็นเส้นทางที่พวกนกใช้อพยพกัน  ในประเทศอื่นๆ ก็มีบ้าง เช่น ช่วงฤดูร้อนของประเทศฮ่องกง แต่ก็พบได้ไม่มากนัก
ในฤดูหนาวคุณจะสามารถเห็นเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) ได้ในอินเดีย จากเทือกเขาตะวันตกจนถึงเทือกเขาตะวันออก ในฤดูนี้อาจพบเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำมาอาศัยอยู่ในเมืองอย่าง กวินดี้ อุทยานแห่งชาติในเชนไน แถวตริวันดรัม และบังกาลอร์ จากสังเกตพบว่า เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำน่าจะผ่านอินเดียตะวันตกและคาบมหาสมุทรอินเดีย เป็นประจำ ไม่ใช่แค่อพยพผ่านเป็นครั้งคราว
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) มีแหล่งผสมพันธุ์อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และประเทศพม่า  พวกนกจะเริ่มผสมพันธุ์กันในเดือนเมษายน ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันสร้างรัง ช่วยกันกกไข่ หาอาหารและดูแลซึ่งกันและกัน  
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) ชอบคาบเอาเยื่อไม้หรือแผ่นไม้บางๆ และหญ้ามาสร้างเป็นรัง โดยนำเอาใบไม้มาวางไว้ตรงกลางเป็นที่รองรับไข่  รังของพวกมันจึงมีความแข็งแรง เมื่อแม่นกออกไข่ มันจะดูแลไข่เป็นอย่างดีและจะใช้เวลาราว 26 -27 วัน กว่าที่ลูกนกจะออกจากไข่มาลืมตาดูโลก  อาหารของลูกนกเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำคือแมลง
ข้อมูลภาษาอังกฤษ :  wikipedia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น